วิธีติดต่อทางสื่อ

SISU News Center, Office of Communications and Public Affairs

Tel : +86 (21) 3537 2378

Email : news@shisu.edu.cn

Address :550 Dalian Road (W), Shanghai 200083, China

ข้อความที่เกี่ยวข้อง

ปฏิทินจีน


20 March 2022 | By pasajeen.com | SISU

“ปฏิทินจีน” หรือที่เรามักจะกันทั่วไปว่าเรียกว่า “ปฏิทินจันทรคติ” จริงๆ มีเรียกอยู่ด้วยกันหลายชื่อ คือ

“夏历” หรือ “ปฏิทินราชวงศ์เซี่ย” ที่เรียกแบบนี้ เพราะเป็นปฏิทินที่คิดค้นพัฒนาขึ้น และเริ่มมีใช้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์เซี่ย (2,100 – 1,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ถ้านับถึงปัจจุบัน ปฏิทินนี้ก็มีอายุเก่าแก่ตกทอดกันมาถึงเกือบ 4,000 ปีทีเดียว เราจึงเรียกปฏิทินนี้ได้อีกอย่างว่า
“旧历” หรือ “ปฏิทินเก่า” เพราะอายุอานามอันเก่าแก่ (มาก) ของมันนั่นเอง และเรายังเรียกปฏิทินนี้ว่า
“农历” หรือ “ปฏิทินการเกษตร” เพราะเป็นปฏิทินที่คิดขึ้นมา เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตรเป็นหลัก
“农历” หรือ “ปฏิทินการเกษตร”  จัดเป็น “阴阳历” แบบหนึ่ง คือใช้ทั้งการหมุนรอบโลกของดวงจันทร์ (จันทรคติ) และการหมุนรอบดวงอาทิตย์ของโลก (สุริยคติ) มานับคำนวณเป็นจำนวนวันของเดือน และปี

“ปฏิทินจีน” หรือ “ปฏิทินการเกษตร” นี้ ในส่วนของปฏิทินจันทรคติ (“阴历” หรือ “太阴历”) ถ้าเป็นปีธรรมดา (“平年”) จะมี 12 เดือน*** เดือนใหญ่ (“大月”) มี 30 วัน เดือนเล็ก (เดือนน้อย)  (“小月”) มี 29 วัน (เดือนไหนเป็นเดือนใหญ่ หรือเดือนเล็กจะไม่เหมือนกันในแต่ละปี) โดยทั้งปีจะมีจำนวนวันเท่ากับ 354 หรือ 355 วัน ซึ่งจำนวนวันในแต่ละปีโดยเฉลี่ยจะน้อยกว่าในส่วนของปฏิทินสุริยคติ (“阳历”,“太阳历” หรือ “太阳年”) ประมาณ 11 วัน ทำให้ทุกๆ 19 ปี จะมี (การจัด) เดือนอธิกมาส (“闰月”) 7 เดือน ปีที่มีเดือนอธิกมาสนี้จะมีจำนวนวัน (ในหนึ่งปี) ทั้งหมด 383 หรือ 384 วัน
และในส่วนของปฏิทินสุริยคติจะแบ่งปีปฏิทิน (สุริยคติ) (“太阳年”) ออกเป็น 24 ฤดูกาล (หรือเทศกาล) โดยใช้ “天干地支” มาใช้เรียก หรือแบ่งฤดูกาล (เช่น “立春”,“清明” (เช็งเม้ง),“秋分”,“冬至” เป็นต้น) เพื่อความสะดวกในงานกิจกรรมทางการเกษตร ซึ่งทุกๆ 60 ปีจะครบรอบปฏิทินจีนนี้หนึ่งรอบ

เรื่อง “天干地支”, การอ่าน/เขียนวันที่ในปฏิทินจีน ฯลฯ – โอกาสหน้า (เมื่อไรยังไม่รู้) จะมาเขียนอธิบายให้อ่านกันครับ

(ของแถม) – ปฏิทินสากลที่นับตามระบบสุริยคติ เรานิยมเรียกว่า “公历” (คริสต์ศักราช) บ้างก็เรียกว่า “西历” (ปฏิทินตะวันตก) ส่วนของไทย เราก็เรียกว่า “佛历” (พุทธศักราช)

สำหรับคนที่สนใจศึกษาเรื่องปฏิทินจีน ลองหาหนังสือ “ปฏิทิน 100 ปีเทียบ 3 ภาษา” มาดูได้

***ในส่วนของปฏิทินสุริยคติจะแบ่งออกเป็น 24 ฤดู หรือเทศกาล “二十四节气” (24 ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงของฟ้าดิน) เพื่อความสะดวกในการประกอบกิจกรรมการเกษตร มีชื่อเรียกแต่ละฤดู ดังนี้

“立春” — ช่วงย่างเข้า หรือเริ่ม (ต้น) ฤดูใบไม้ผลิ ตรงกับวันที่ 3, 4 หรือ 5 ของเดือน ก.พ.
“雨水” — ช่วงน้ำฝน ตรงกับวันที่ 18,19 หรือ 20 ของเดือน ก.พ.
“惊蛰” — ช่วงเวลาที่สัตว์ (หรือแมลง) ตื่นจากการจำศีล (ช่วงแมลงตื่น) ตรงกับวันที่ 5, 6 หรือ 7 ของเดือน มี.ค.
“春分” — ช่วงวสันตวิษุวัต (กลางฤดูใบไม้ผลิ) (ช่วงราตรีเสมอภาคแห่งวสันตฤดู) กลางวันกับกลางคืนในฤดูใบไม้ผลิจะยาวเท่ากัน ตรงกับวันที่ 20, 21 หรือ 22 ของเดือน มี.ค.
“清明” — ช่วงสว่างใส (เทศกาลเชงเม้ง) ตรงกับวันที่ 4, 5 หรือ 6 ของเดือน เม.ย.
“谷雨” — ช่วงฝนข้าว ตรงกับวันที่ 19, 20 หรือ 21 ของเดือน เม.ย.
“立夏” — ช่วงย่างเข้า หรือเริ่ม (ต้น) ฤดูร้อน ตรงกับวันที่ 5, 6 หรือ 7 ของเดือน พ.ค.
“小满” — ช่วงข้าวเต็มน้อย ตรงกับวันที่ 20, 21 หรือ 22 ของเดือน พ.ค.
“芒种” — ช่วงปลูกข้าว หรือข้าวงอกขน ตรงกับวันที่ 5, 6 หรือ 7 ของเดือน มิ.ย.
“夏至” — ช่วงครีษมายัน (ช่วงอุตตรายัน) (กลางฤดูร้อน) ช่วงที่กลางวันยาวกว่ากลางคืน ตรงกับวันที่ 21 หรือ 22 ของเดือน มิ.ย.
“小暑” — ช่วงร้อนน้อย ตรงกับวันที่ 6, 7 หรือ 8 ของเดือน ก.ค.
“大暑” — ช่วงอากาศร้อนที่สุด (ร้อนมาก) ตรงกับวันที่ 22, 23 หรือ 24 ของเดือน ก.ค.
“立秋” — ช่วงย่างเข้า หรือเริ่ม (ต้น) ฤดูใบไม้ร่วง ตรงกับวันที่ 7, 8 หรือ 9 ของเดือน ส.ค.
“处暑” — ช่วงคงร้อน (จบร้อน, สิ้นสุดฤดูร้อน) ตรงกับวันที่ 22, 23 หรือ 24 ของเดือน ส.ค.
“白露” — ช่วงน้ำค้างขาว ตรงกับวันที่ 7, 8 หรือ 9 ของเดือน ก.ย.
“秋分” — ช่วงศารทวิษุวัต (กลางฤดูใบไม้ร่วง) (ช่วงราตรีเสมอภาคแห่งฤดูสารท) กลางวันกับกลางคืนในฤดูใบไม้ร่วงยาวเท่ากัน ตรงกับวันที่ 22, 23 หรือ 24 ของเดือน ก.ย.
“寒露” — ช่วงน้ำค้างหนาว ตรงกับวันที่ 8 หรือ 9 ของเดือน ต.ค.
“霜降” — ช่วงน้ำค้างแข็งตก ตรงกับวันที่ 23 หรือ 24 ของเดือน ต.ค.
“立冬” — ช่วงย่างเข้า หรือเริ่ม (ต้น) ฤดูหนาว ตรงกับวันที่ 7 หรือ 8 ของเดือน พ.ย.
“小雪” — ช่วงหิมะ (ตกเล็ก) น้อย ตรงกับวันที่ 22 หรือ 23 ของเดือน พ.ย.
“大雪” — ช่วงหิมะตกหนัก (หิมะมาก) ตรงกับวันที่ 6, 7 หรือ 8 ของเดือน ธ.ค.
“冬至” — ช่วงเหมายัน (ช่วงทักษิณายัน) (กลางฤดูหนาว) ช่วงที่กลางคืนยาวกว่ากลางวัน ตรงกับวันที่ 21, 22 หรือ 23 ของเดือน ธ.ค.
“小寒” — ช่วงอากาศหนาว (เย็นเล็ก) น้อย ตรงกับวันที่ 5, 6 หรือ 7 ของเดือน ม.ค.
“大寒” — ช่วงอากาศหนาวมาก ตรงกับวันที่ 20 หรือ 21 ของเดือน ม.ค.

แบ่งปันข้อความ:

วิธีติดต่อทางสื่อ

SISU News Center, Office of Communications and Public Affairs

Tel : +86 (21) 3537 2378

Email : news@shisu.edu.cn

Address :550 Dalian Road (W), Shanghai 200083, China

ข้อความที่เกี่ยวข้อง