วิธีติดต่อทางสื่อ

SISU News Center, Office of Communications and Public Affairs

Tel : +86 (21) 3537 2378

Email : news@shisu.edu.cn

Address :550 Dalian Road (W), Shanghai 200083, China

ข้อความที่เกี่ยวข้อง

สีสันชีวิตในประเทศไทย(3)


16 November 2019 | By Yang Siyi | SISU

         ประสบการณ์นี้เป็นประสบการณ์ครั้งแรกที่ได้มาเรียนในต่างประเทศและก็เป็นประสบการณ์ที่ไม่ได้กลับบ้านประมาณหนึ่งเทอมและต้องพึ่งพาตนเอง ดิฉันรู้สึกแปลกใหม่และกังวลนิดหน่อย แต่ฉันคิดว่าฉันสามารถดูแลฉันเองได้ ไม่ว่าในด้านการเรียนหรือชีวิตประจำวัน 
เมื่อวันที่แรกเราถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ได้ยินคำว่า สวัสดีค่ะ ก็รู้ได้ทันทีว่า เรามาถึงประเทศไทยแล้ว ถึงแม้ว่าเราฝึกการพูด การเขียน การอ่าน ฯลฯ ใน sisu แต่ดิฉันก็ยังไม่รู้ว่าฉันจะแสดงความคิดหรือความต้องการให้แก่เจ้าหน้าที่หรือคนอื่นๆ ได้ชัดเจนอย่างไร มีคำในใจ แต่พูดไม่ออก กลัวผิด บางทีพูดแล้ว ยังต้องใช้ภาษากายประกอบเพื่อทำให้ผู้ฟังเข้าใจ แล้วเราต้องจัดห้องพักของเรา มีสินค้ามากมายที่ต้องซื้อ วันที่หนึ่งและวันที่สองเหนื่อยมากจริงๆ ดิฉันจำไว้ว่าพอหัวถึงหมอน ก็นอนหลับแล้ว คิดว่าเมื่อจบการศึกษาแล้ว ถึงตอนนั้นฉันก็ไม่อยากพึ่งพาพ่อแม่ ก็จะรู้สึกเหนื่อยเหมือนกัน และต้องพยายามทำให้ชีวิตดีขึ้น ถ้าเราไปประเทศที่เราไปครั้งแรก 
       อาหารจะเป็นสิ่งที่สำคัญในชีวิตของเรา ความรู้สึกที่ประทับใจฉันก็คือราคาถูกมาก ถ้าเปรียบเทียบกับเซี่ยงไฮ้ ค่าครองชีพต่ำกว่า แม้ว่าอัตราการแลกเปลี่ยนบาทไทยของเงินเหยินหมินปี้ตกลง โดยเฉพาะผลไม้ในประเทศ ราคาถูก เช่น มังคุด มะละกอ มะเฟือง ฯลฯ ใช้คำที่แฟชั่นในประเทศจีน ก็เรียกว่า เสรีภาพของผลไม้ หลังจากชิมอาหารต่างๆ ในประเทศไทย สำหรับรสชาติของอาหารไทย มีทั้งเปรี้ยว เผ็ด และหวาน ไม่เหมือนรสชาติของจีน เค็มก็เค็ม หวานก็หวาน นอกจากนี้ ชาวไทยยังชอบกินขนมหวานมาก เมื่อนักศึกษาจีนลองชิมขนมที่อาจารย์ส่งให้เรา ก็รู้สึกหวานเกินไป ทนไม่ไหว สำหรับเครื่องดื่ม คนไทยจะใส่น้ำแข็งเยอะๆ ฉันเอากาต้มน้ำไฟฟ้าไปด้วย มิฉะนั้นแล้วก็ไม่มีน้ำร้อนดื่ม เวลากินข้าว ชาวไทยจะสั่งเครื่องดื่มอยู่บ่อยๆ ในประเทศจีนไม่ค่อยเห็นประกฏการณ์เช่นนี้ แค่เราเลี้ยงคนอื่นโดยปกติก็จะสั่งน้ำเปล่าฟรีในร้านที่จีน แต่ในไทยถ้าสั่งน้ำเปล่า ต้องจ่ายเงิน ดิฉันไม่ชิน จึงเอาน้ำถือติดตัว แต่เสียใจที่สุดก็คือร้านอาหารจีนในประเทศไทยมีน้อย อยากกินอาหารจีนอย่างจริงจัง แต่ในห้องพักไม่มีเครื่องปรุง ทำอาหารจีนไม่ได้ 
       ชีวิตในประเทศไทยก็เหมือนคำที่อาจารย์บอกว่าสบายใจ ชาวไทยชอบใจเย็นๆ เวลาเราไปเข้าเรียน อาจารย์ที่สอนเราเกือบทั้งหมดมาช้าประมาณห้าถึงสิบนาที เมื่อเรานัดบัดดี้ไปกินข้าวด้วย นักศึกษาจีนจะถึงสถานที่ที่นัดประมาณห้าถึงสิบนาทีล่วงหน้า แต่เพื่อนคนไทยจะมาช้าอยู่เสมอ นอกจากนี้ ร้านในจีนปกติเปิดตั้งแต่เวลาสิบโมงเช้าจนถึงเที่ยงคืน แต่ในไทยร้านไม่เปิดตรงเวลา จะเปิดในสิบโมงเช้าหรือสิบเอ็ดโมงเช้า ในตอนเย็นบางทีปิดในเวลาสามทุ่ม ดิฉันไม่ค่อยเชื่อว่าเจ้าของร้านจะได้รับเงิน อาจารย์บอกเราว่าชาวไทยส่วนใหญ่ขี้เกียจทำงาน ดิฉันก็รู้สึกว่าคนจีนพยายามทำงานตลอดชีวิต ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับการเสพสุขและความสนุกสนานในชีวิตของเรา 
       ถึงแม้ว่าชาวไทยไม่ค่อยตั้งใจทำงาน แต่มารยาทของคนไทยเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมากในชีวิตเขา โดยเฉพาะความเคารพต่อผู้ใหญ่ สิ่งที่ประทับใจฉันที่สุดก็คือเวลาพ่อแม่และยายมาเยี่ยมฉัน ฉันบอกเจ้าหน้าที่ที่รักษาความปลอดภัยว่านี่คือยายของฉัน เขาก็รีบยื่นมือไหว้และทักทาย เวลานั้นก็รู้ว่าคนไทยปฏิบัติมารยาทเป็นกิจวัตรประจำวัน เมื่อเราไปมหาวิทยาลัย เราไหว้อาจารย์อยู่เสมอ โดยเฉพาะกิจกรรมของวันไหว้ครู แม้ว่าเราเป็นนักศึกษาต่างชาติ แต่รู้สึกเคร่งขรึม เมื่อจัดพิธีการไหว้ครู นักศึกษาร้องเพลงที่แสดงเคารพและมอบดอกไม้ให้แก่อาจารย์ การเข้าร่วมกิจกรรมนี้ทำให้ฉันได้ติดตามวัฒนธรรมไทยได้อย่างใกล้ชิด แต่เนื่องจากวันครูในจีน กลายเป็นวันครูแบบสากล เรากล่าวคำขอบคุณหรือส่งของขวัญแด่ครูครู แต่ไม่มีพิธีแบบไทย จึงรูสึกไม่ค่อยสำคัญในชีวิต แต่คนไทยทำให้ฉันรู้ว่าอาจารย์เป็นบุคคลที่น่าเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง ดิฉันคิดว่าคนจีนเคารพครูบาอาจารย์ในสมัยโบราณมากกว่าปัจจุบัน ถ้าเรารักษาวัฒนธรรมเหมือนคนไทยไว้แบบนี้ สังคมของเราจะเคารพอาชีพนี้ยิ่งขึ้น 
       สำหรับการเรียนภาษา ดิฉันได้มาในสิ่งแวดล้อมของภาษาไทยแล้ว หลักสูตรของเราต่างก็เรียนภาษาไทย อาจารย์พูดภาษาไทย แม้ว่าจะมีนักศึกษาเกาหลี นักศึกษาญี่ปุ่น เราคุยกันก็ใช้ภาษาไทย เมื่อเราไปเข้าเรียน ความสามารถในการเขียน การฟัง การอ่าน และการพูดภาษาไทยก็จะได้ฝึกฝน ตอนแรกดิฉันไม่ค่อยคุ้นเคยกับความเร็วในการพูดของอาจารย์คนหนึ่ง แต่ต้องบังคับตนเองให้คุ้นเคย จึงจะพัฒนาความสามารถในด้านการเรียนได้ นอกจากการเรียนกับอาจารย์แล้ว ดิฉันคิดว่าเวลากินข้าว ก็สามารถฝึกภาษาไทยได้ เพราะฉันต้องสั่งอาหารที่ฉันอยากกินและต้องบอกแม่ค้าพ่อค้าในสิ่งที่ฉันต้องการ เช่น สั่งก๋วยเตี๋ยว เส้นเล็ก หรือเส้นใหญ่ เอาผักชีหรือไม่ เผ็ดหรือไม่เอาผิด เราอาศัยอยู่ในหอพักกับเพื่อน ปกติเราคุยด้วยภาษาจีนระหว่างคนจีนด้วยกัน ถ้าอยากพูดภาษาไทย จะต้องไปคุยกับชาวไทย เวลาทานข้าวจึงต้องพูด ต้องอ่านเมนู ฯลฯ และยังมีอีกด้านหนึ่งที่ทำให้เราได้ฝึกภาษาไทย เนื่องจากหลักสตรูในธรรมศาสตร์มีน้อยกว่าใน SISU ดิฉันไปเที่ยวกับเพื่อนในประเทศไทย เช่น กรุงเทพ จังหวัดอยุธยา จังหวัดราชบุรี และยังจะไปเชียงใหม่ในสัปดาห์สุดท้าย ในการเดินทางนั้น ฉันไม่เพียงแต่จะได้ชมทัศนียภาพของไทยเท่านั้น ยังเรียนความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของไทยอีกด้วย หลังจากการอ่านคำแนะนำของสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ และเห็นความสวยงามของธรรมชาติในประเทศไทย ได้ความรู้เพิ่มเติมและรู้สึกสนุกมาก แต่ยังรู้สึกเสียใจนิดหน่อย เพราะอยู่กับเพื่อนจีนบ่อย ถ้าไม่ไปเที่ยว ไม่ไปเข้าเรียน ไม่เข้าร่วมกิจกรรม ก็ไม่ค่อยได้มีโอกาสพูดภาษาไทย รู้สึกว่าที่จริงแล้วยังมีโอกาสที่จะสามารถพูดภาษาไทยได้อีกมากมาย 
        หลังจากหลายเดือนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ฉันเริ่มเข้าใจในนิสัยและวัฒนธรรมของชาวไทย รู้จักอาจารย์และเพื่อนคนไทยที่น่ารัก และช่วยเหลือเราในชีวิตประจำวัน ชีวิตในไทยสบายๆ ทำให้ฉันได้จดจำไว้จนเวลากลับบ้าน ฉันเชื่อว่าฉันจะคิดถึงทั้งผู้คนและสิ่งต่างๆ ในประเทศไทย ประสบการณ์นี้เป็นช่วงเวลาที่มีความประทับใจในชีวิตของฉัน เข้าใจว่าประเทศไทยแท้จริงแล้วเป็นอย่างไร บางทีเราต้องออกจากสิ่งแวดล้อมที่สบายใจ ปรับตัวในสิ่งแวดล้อมใหม่และเรียนรู้ในการที่จะแก้ไขปัญหาที่ได้พบเจอ เปิดหูเปิดตา แล้วจะกลายเป็นคนที่มีพหูสูตในชีวิต

 

 

แบ่งปันข้อความ:

วิธีติดต่อทางสื่อ

SISU News Center, Office of Communications and Public Affairs

Tel : +86 (21) 3537 2378

Email : news@shisu.edu.cn

Address :550 Dalian Road (W), Shanghai 200083, China

ข้อความที่เกี่ยวข้อง