วิธีติดต่อทางสื่อ

SISU News Center, Office of Communications and Public Affairs

Tel : +86 (21) 3537 2378

Email : news@shisu.edu.cn

Address :550 Dalian Road (W), Shanghai 200083, China

ข้อความที่เกี่ยวข้อง

รอยแผลเป็นแห่งมาตุภูมิ ——ไปเยือนหอรำลึกการสังหารหนานจิง


28 May 2018 | By ลิศา (นักศึกษาภาควิชาภาษาไทยปีที่ ๓ ) | SISU

  • 1

  • 2

  • 3

วันนี้มีอากาศเหมาะสมที่สุดที่จะไปชมหอรำลึกการสังหารหนานจิงเจ้าหน้าที่เดินทางไปข้างหน้าเราและบอกให้เราฟัง

ตรงข้ามกับอากาศในอาทิตย์ที่แล้วซึ่งร้อนชื้นจนเราทนไม่ไหว วันนั้นอากาศหนาวเย็น ท้องฟ้ามืดคลึ้ม มีฝนตกเล็กน้อยเป็นระยะๆ เพื่อนๆ ที่เคยไปหอรำลึกการสังหารหนานจิงพูดด้วยเสียงเบาๆ ว่า บรรยากาศในหอรำลึกมีความกดอากาศต่ำมาก ทำให้เขาแทบจะหายใจไม่ได้

ก่อนที่เราจะย่างเท้าเข้าไปในหอรำลึก ทุกคนยืนด้วยความเงียบหน้าหอหนึ่งนาทีเพื่อแสดงการไว้อาลัย ระหว่างการยืนเรามองดูหมายเลขบนกำแพง “300000”ซึ่งหมายถึงจำนวนคนที่เสียชีวิตในการถูกรุกรานครั้งนั้น ตัวเลข 0ที่เรียงรายอยู่ยาวๆ ทำให้เรารู้สึกถึงความรุนแรงที่เคยเกิดขึ้นที่นี่

พอเข้าสู่หอรำลึก เรารู้ได้ทันทีว่าที่เคยบอกว่า ความกดอากาศต่ำมันหมายความว่าอะไร เพราะที่อยู่ต่อหน้าเราคือความดำมืดที่ไม่มีที่สิ้นสุด มีแค่ดวงดาวส่องแสงเล็กน้อย ข้างดวงดาวมีชื่อติดอยู่ด้วย ทุกๆ สองสามวินาทีมีดาวตกซึ่งหมายถึงชีวิตที่เคยถูกทำลาย

เราก้าวหน้าเดินต่อไป ในแสงมัวได้เห็นตึกที่แตกหักซึ่งเป็นย่านธุรกิจในนครหนานจิงในเวลานั้น เราได้เห็นลางๆ ว่ามีร้านอาหาร ครัวเรือน ฯลฯ แสดงถีงความเจริญของชีวิตของคนหนานจิงในตอนนั้น แต่ปัจจุบันอาคารเหล่านี้ไม่ได้มีอยู่อีกต่อไปแล้ว ไม่มีใครสามารถจินตนาการได้ถึงความทุกข์ทรมานแสนสาหัส ซึ่งสงครามได้เหลือทิ้งไว้ให้กับพวกเขา

ในความมืดที่ล้อมรอบตัวเรา เราได้เห็นแสงสลัวส่องขึ้นมา เมื่อเราเดินไปใกล้ สิ่งที่เราได้เห็นทำให้เราตกใจทันที นั่นก็คือคือหลุมใหญ่ที่เต็มไปด้วยศพของคนหนานจิงที่ถูกทหารญี่ปุ่นฆ่าตัวตาย ข้างๆ หลุมใหญ่มีแผนที่ติดไว้ซึ่งเป็นนครหนานจิงในตอนนั้น แต่ที่แตกต่างจากแผนที่ธรรมดาคือแผนที่แผนนี้มีรูกระสุนกระจายอยู่จำนวนมากมายทั่วทั้งแผ่น พนักงานอธิบายว่ารูกระสุน หมายถึงที่ที่มีหลุมศพ ถ้ามองดูอย่างละเอียดเราก็จะเห็นได้ว่า แม้กระทั่งใน เขตปลอดภัยก็ยังมีรูกระสุนอยู่ด้วย แสดงว่าในเขตปลอดภัยก็ได้ไม่มีความปลอดภัย

ยิ่งเดินลึกเข้าไปแสงก็ยิ่งสว่าง เสมือนกับคนที่เดินอยู่ในอุโมงค์มืดเป็นเวลานานๆ จนกระทั่งมองเห็นความหวังที่ปลายทาง ที่ด้านหน้าของเรา มีกำแพงสูงๆ ที่มีรูปภาพต่างๆ ติดเอาไว้ ซึ่งเป็นรูปภาพของคนต่างประเทศที่เป็นมิตรต่อชาวจีนและอำนวยความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ได้แก่ คนเยอรมัน John Rabe ซึ่งพยายามให้สร้างเขตปลอดภัย ได้ร้องอุทธรณ์ให้ประชาคมโลกให้ความสนใจแก่สภาพความเดือดร้อนของชาวจีน นอกจากนี้ยังมีคนจีนที่เข้มแข็งและทหารจีนที่กล้าหาญหลายกลุ่มหลายฝ่าย ซึ่งกำลังรวมตัวกัน จนท้ายที่สุดก็สามารถเอาชนะผู้รุกรานได้

แต่หลังจากที่ได้เห็นความสุขของชัยชนะ ก่อนที่เราจะเดินออกจากหอรำลึก เราต้องเดินผ่านห้องที่ดำมืดอีกห้องหนึ่ง ในห้องนี้มีสะพานแห่งหนึ่งที่เราต้องข้าม ทั้งสองด้านของสะพานมีแสงเทียนสว่าง ตอนที่เราเดินทางมีเสียงเบาๆ ขานชื่อของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อทีละคนอย่างช้าๆ

ระหว่างการเดินทางในความมืด ความปิติยินดีที่เราได้เอาชนะค่อยๆ หายไปแล้ว ความเศร้าโศกกลับมาอีกครั้งหนึ่ง เพราะว่าแม้เราได้ชัยชนะในที่ท้ายที่สุด แต่ความเสียหายของชาวจีนจะยังคงอยู่ตลอดไป ซึ่งตรงกับที่อาจารย์ของหอรำลึกได้ตอบคำถามที่ถามว่า เราต้องยกโทษให้กับเหตุการณ์นี้หรือเปล่าท่านกล่าวว่า เราไม่สามารถให้อภัยได้อย่างสิ้นเชิง เพราะว่าแผลเป็นจากภัยพิบัตินี้เป็นสี่งที่ประชาชนจีนลืมไปไม่ได้แน่ๆ สิ่งที่เราทำได้คือการทิ้งความเกลียดชังไว้และให้ประสบการณ์นี้เป็นอุทธาหรณ์เตือนใจถึงภัยของสงครามแก่ประเทศของเราและนานาประเทศทั่วโลกเท่านั้น

 

แบ่งปันข้อความ:

วิธีติดต่อทางสื่อ

SISU News Center, Office of Communications and Public Affairs

Tel : +86 (21) 3537 2378

Email : news@shisu.edu.cn

Address :550 Dalian Road (W), Shanghai 200083, China

ข้อความที่เกี่ยวข้อง